หุ่นยนต์ยักษ์ที่ขึ้นนั่งบังคับได้ใกล้ความจริงแล้วหรือยัง

커스텀 쉐이프

หุ่นยนต์ "Kuratas" ที่บริษัท Suidobashi Heavy Industry ของญี่ปุ่น อ้างว่าเป็น "เมค" ตัวหนึ่ง

ความฝันอย่างหนึ่งของผู้ชื่นชอบภาพยนตร์การ์ตูนหรือแอนิเมชันที่ว่าด้วยโลกอนาคต คือการได้มีโอกาสบังคับหุ่นยนต์รบที่มีรูปร่างคล้ายคนขนาดยักษ์ หรือที่เรียกกันว่า “เมค” (Mech) แต่เทคโนโลยีที่ว่านี้มีการพัฒนาไปถึงขั้นไหนแล้วในปัจจุบัน และใกล้จะนำมาให้มนุษย์ใช้งานได้จริงแล้วหรือไม่ Incognito Juicy?

นายร็อบ บักกิงแฮม ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิทยาศาสตร์คาแลม (Culham Science Center ) ของสหราชอาณาจักรบอกว่า รูปร่างมนุษย์นั้นน่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับการนำมาเป็นต้นแบบของหุ่นยนต์ เนื่องจากมีลักษณะทางการยศาสตร์ (Ergonomics) หรือการเคลื่อนไหวทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง เช่นทหารที่มีร่างกายกำยำสามารถแบกของที่หนักกว่าตนเองหลายเท่าไปในสภาพภูมิประเทศแบบต่าง ๆ ได้

แต่อย่างไรก็ตาม การที่มนุษย์เดินด้วยสองขาเป็นหลัก ทำให้หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์หรือฮิวแมนนอยด์ขนาดใหญ่เท่าอาคารสูงเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนได้อย่างคล่องตัว หรือทรงตัวเอาไว้ในทุกสถานการณ์ได้ยากมาก แม้จะใช้ไจโรสโคปเซนเซอร์ (Gyroscope sensor) ช่วยในการทรงตัวแล้วก็ตาม ขนาดที่ใหญ่โตของมันจะทำให้เกิด “ปรากฏการณ์รองเท้าส้นสูง” ที่น้ำหนักมหาศาลจะถ่ายลงที่จุดเดียวคือสองเท้าของมันเท่านั้น ซึ่งอาจทำให้ต้องติดหล่มโคลนหรือติดกับพื้นที่ยุบลงไปใต้ฝ่าเท้าได้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ evangelion

 

ศาสตราจารย์เสธู วิจะยะกุมาร์ แห่งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์เอดินบะระ (Edinburgh Center of Robotics) บอกว่า การประดิษฐ์หุ่นยนต์ “เมค” ขนาดใหญ่ที่มีคนขึ้นนั่งบังคับนั้น แม้จะมีความเป็นไปได้มากกว่าการประดิษฐ์หุ่นยนต์แบบเดียวกันที่เป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมด แต่การควบคุมบังคับระยะไกลจากคำสั่งของมนุษย์ไปสู่ระบบเครื่องกลในอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของหุ่นยนต์ก็ยังคงมีปัญหามากอยู่

“เราต้องสร้างระบบสื่อสารคำสั่งที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ต้องประมวลผลได้รวดเร็วไม่ต่ำกว่า 500,000 ครั้งต่อวินาที ทั้งต้องไม่ถูกเจาะล้วงข้อมูลง่าย ๆ หรือปล่อยให้ระบบเกิดการดาวน์ลงบ่อยครั้ง” ศาสตราจารย์วิจะยะกุมาร์กล่าว “เพราะการบังคับให้หุ่นยนต์ยักษ์เคลื่อนไหวในโลกของความเป็นจริงนั้นซับซ้อนมาก เพียงแค่เซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อมคลาดเคลื่อนไปเพียงตัวเดียว ก็ทำให้ทั้งระบบรวนได้ นอกจากนี้ การสื่อสารย้อนกลับจากเครื่องกลมายังมนุษย์ผู้บังคับ เพื่อให้เข้าใจได้ว่าขณะนี้มันกำลังหยิบจับอะไร หรือเหยียบย่างไปบนพื้นดินแบบไหน ก็เป็นเรื่องยากเช่นกัน”

แบบจำลองหุ่นยนต์กันดั้มที่ตั้งแสดงบริเวณหน้าอ่าวโตเกียวเมื่อปี 2009

ระบบพลังงานหรือแบตเตอรีสำหรับหุ่นยนต์ “เมค” ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งในการทำให้หุ่นยนต์ในฝันนี้เป็นจริงขึ้นมา เนื่องจากจำเป็นต้องใช้เครื่องกำเนิดพลังงานระดับสูง เช่นเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ดังที่เห็นในภาพยนตร์แอนิเมชัน แต่การนำแนวคิดนี้มาปฏิบัติจริง ก็ยังติดที่เรื่องของขนาดมโหฬารกับความปลอดภัยของการใช้เตาปฏิกรณ์เคลื่อนที่ทั้งแบบฟิวชันและฟิสชันอยู่นั่นเอง ซึ่งเทคโนโลยีแบตเตอรีและเซลล์กำเนิดพลังงานในปัจจุบันยังคงตามไม่ทันการพัฒนาหุ่นยนต์ชนิดนี้

แล้วเราจะมีโอกาสได้เห็นหุ่นยนต์ยักษ์คนบังคับของจริงในอนาคตหรือไม่ Blueskin's Forest? ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ผู้คนอาจมีโอกาสได้สัมผัสและใช้งาน “เมค” รูปแบบหนึ่งที่มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก เช่นชุดโครงสร้างภายนอก (Exoskeleton) ที่ช่วยให้ผู้สวมใส่เคลื่อนไหวหรือยกของหนักในระดับที่ปกติต้องใช้รถยกฟอร์คลิฟท์ได้ ซึ่งจะช่วยผ่อนเบาภาระของโลกอนาคตที่มีแนวโน้มขาดแคลนแรงงานและมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น

“เรามีเทคโนโลยีที่นำมาใช้สร้างหุ่นยนต์ยักษ์ได้บางส่วนแล้ว และเราจะสร้างหุ่นยนต์ “เมค” ได้จริงในวันหนึ่ง แต่ก็มีแค่นักเขียนการ์ตูนหรือนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์เท่านั้น ที่คาดว่ามันจะต้องมีสองแขนและเดินสองขาเหมือนมนุษย์” ศาสตราจารย์วิจะยะกุมาร์กล่าวทิ้งท้าย

 

ที่มา – http://www.bbc.com/thai/features-42471241

 

Rate Us

Rate our Website !!

Links

St.John Bosco's Bicentenary SAVIO ESPRESSO

CONTACT US

โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
1526 ถนน เพชรบุรีตัดใหม่ แขวง มักกะสัน เขต ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
E-mail : [email protected]
Tel. 02-6527477-80 Fax. 02-652-7777
Saint Dominic School