ช่องว่างปริศนาในพีระมิดกีซาคือห้องลับแห่งใหม่แน่หรือ ?

Download to Marie's Atelier
พีระมิดกีซา

ข่าวการค้นพบช่องว่างปริศนาขนาดใหญ่เท่าเครื่องบินพาณิชย์ ในมหาพีระมิดแห่งเมืองกีซาของอียิปต์ สร้างความฮือฮาอย่างมากแก่วงการวิทยาศาสตร์และโบราณคดี โดยหลายคนคาดว่าอาจเป็นการค้นพบห้องลับแห่งใหม่ที่เก่าแก่กว่า 4,500 ปี นอกเหนือไปจากห้องเก็บพระศพฟาโรห์คูฟูและพระมเหสีที่ค้นพบก่อนหน้านี้แล้ว 2 ห้อง

ช่องว่างดังกล่าวตั้งอยู่เหนือบริเวณห้องโถงใหญ่ภายในพีระมิดที่เรียกว่า แกรนด์ แกลเลอรี (Grand gallery) และดูเหมือนว่าจะไม่มีช่องทางเข้าถึงได้จากภายนอก โดยประมาณการว่ามีความกว้างราว 30 เมตรและสูงหลายเมตร คณะผู้ค้นพบยังไม่แน่ใจว่าช่องว่างนี้มีลักษณะการวางตัวอยู่ในแนวราบหรือลาดเอียง

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติในโครงการ “สแกนพีระมิด” (ScanPyramids) ซึ่งนำโดยนายคุนิฮิโระ โมริชิมะ จากมหาวิทยาลัยนาโงยาของญี่ปุ่น ใช้เวลาศึกษาโครงสร้างของมหาพีระมิดแห่งกีซา 2 ปี และตีพิมพ์ผลงานลงเผยแพร่ในวารสารเนเจอร์ โดยระบุว่าใช้วิธีสแกนโครงสร้างภายในของพีระมิดแบบ “มิวโอกราฟี” (Muography) หรือการสร้างภาพด้วยอนุภาคมิวออน โดยไม่จำเป็นต้องแตะต้องหรือเคลื่อนย้ายหิน ซึ่งเสี่ยงสร้างความเสียหายให้แก่ตัวพีระมิดเลยแม้แต่น้อย

ยังไม่แน่ชัดว่าช่องว่างที่พบในพีระมิด (กลุ่มของจุดสีขาวขนาดเล็ก) เป็นห้องลับแห่งใหม่จริงหรือไม่
มิวออน (Muons ) คืออนุภาคพลังงานสูงที่เกิดขึ้นเมื่อรังสีคอสมิกจากอวกาศปะทะเข้ากับชั้นบรรยากาศโลก อนุภาคมิวออนสามารถทะลุทะลวงผ่านก้อนหินหนา แต่จะถูกดูดซับเอาไว้ในก้อนหินได้บ้าง คิดเป็นสัดส่วนมากน้อยตามความหนาแน่นของหินที่ต่างกันไป ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถติดตั้งเครื่องตรวจจับอนุภาคมิวออนไว้โดยรอบพีระมิด เพื่อดูว่ามีปริมาณของมิวออนที่ทะลุทะลวงก้อนหินออกมาเท่าใดในแต่ละจุด ซึ่งเมื่อนำข้อมูลมาทำแผนที่ประกอบกันแล้วจะช่วยให้ทราบถึงลักษณะของโครงสร้างในส่วนต่าง ๆ ของพีระมิดได้

 

ช่องว่างที่พบใหม่อยู่เหนือห้องโถงใหญ่หรือ แกรนด์ แกลเลอรี พอดี

ช่องว่างแห่งนั้นสำคัญไฉน Katok free?

มหาพีระมิดเมืองกีซาสร้างขึ้นในสมัยของฟาโรห์คูฟู ระหว่าง 2509-2483 ปีก่อนคริสตกาลเพื่อใช้เก็บพระศพ มีความสูง 140 เมตร และมีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาพีระมิดที่สร้างขึ้นในบริเวณเดียวกัน ซึ่งตั้งอยู่ชานกรุงไคโร การค้นพบใด ๆ เกี่ยวกับพีระมิดนี้ ย่อมเป็นการค้นพบครั้งสำคัญอย่างไม่ต้องสงสัย แต่นักโบราณคดีหลายคนตั้งคำถามว่า การค้นพบช่องว่างในพีระมิดครั้งล่าสุด มีความสำคัญจริงจังเท่ากับที่เป็นข่าวตื่นเต้นฮือฮากันไปทั่วโลกแน่หรือ Free download of Shark Family?

ก่อนหน้านี้ คณะผู้ค้นพบพยายามหลีกเลี่ยงไม่เรียกช่องว่างดังกล่าวว่าเป็น “ห้อง” เพราะยังไม่แน่ใจว่าช่องว่างนี้เกิดขึ้นเพราะเป็นส่วนหนึ่งของแบบแปลนการก่อสร้าง หรือเกิดขึ้นเพราะโครงสร้างโบราณภายในได้รับความเสียหาย หรือเป็นช่องว่างที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ หลังจากโครงสร้างของพีระมิดหลายแนวมาบรรจบกันเมื่อก่อสร้างเสร็จ นักโบราณคดีบางรายเสนอความเป็นไปได้ว่า อาจเป็นช่องทางที่เปิดให้คนงานก่อสร้างพีระมิดเข้าถึงห้องต่าง ๆ ภายในขณะที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จก็เป็นได้

เครื่องตรวจจับอนุภาคมิวออนถูกติดตั้งไว้ใต้พื้นที่ซึ่งนักโบราณคดีสนใจศึกษา

 

นายมาร์ก เลห์เนอร์ นักโบราณคดีชาวอเมริกันบอกกับบีบีซีว่า การค้นพบช่องว่างดังกล่าวเหนือห้องโถงใหญ่ โดยช่องว่างมีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับห้องข้างใต้นั้นไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะก่อนหน้านี้ก็พบช่องว่างแบบเดียวกันถึง 5 ช่อง เหนือห้องเก็บพระศพฟาโรห์คูฟู ซึ่งเชื่อว่าทำขึ้นเพื่อผ่อนแรงกดดันจากโครงสร้างน้ำหนักมหาศาลด้านบนให้เบาลง และป้องกันไม่ให้เพดานของห้องด้านล่างพังถล่มลงมา

ด้าน ดร.ซาฮี ฮาวาสส์ นักอียิปต์วิทยาคนดังก็ออกมาแย้งว่า การค้นพบช่องว่างดังกล่าวยังไม่สู้มีนัยสำคัญในทางวิชาการนักและไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยชี้ว่าหากเข้าใจกระบวนการก่อสร้างพีระมิด ก็จะทราบว่าโครงสร้างภายในเต็มไปด้วยโพรงและช่องว่าง ซึ่งช่องว่างที่ค้นพบล่าสุดนี้ไม่ใช่ห้องลับ แต่เป็นเพียงช่องว่างธรรมดาภายในโครงสร้างพีระมิดเท่านั้น โดยเคยมีการกล่าวถึงช่องว่างดังกล่าวมาแล้วตั้งแต่เมื่อ 25 ปีก่อน

อย่างไรก็ตาม ดร.ฮานี เฮลาล หนึ่งในผู้นำทีมซึ่งค้นพบช่องว่างดังกล่าวและนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไคโรแสดงความเห็นว่า ช่องว่างนี้มีขนาดใหญ่เกินไปกว่าจะเป็นช่องระบายน้ำหนักของโครงสร้างด้านบน แต่ข้อมูลนี้ยังคงเปิดต่อการอภิปรายถกเถียงกันได้อีกหลายแง่มุม เนื่องจากการสแกนพีระมิดด้วยวิธีมิวโอกราฟีนั้นยังให้ข้อมูลได้ไม่สู้เที่ยงตรงนัก

ที่มา – http://www.bbc.com/thai/international-41868635

 

Rate Us

Rate our Website !!

Links

St.John Bosco's Bicentenary SAVIO ESPRESSO

CONTACT US

โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
1526 ถนน เพชรบุรีตัดใหม่ แขวง มักกะสัน เขต ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
E-mail : [email protected]
Tel. 02-6527477-80 Fax. 02-652-7777
Saint Dominic School