ไดโนเสาร์ขยายอาณาเขตได้ดีเกินไปจนสายพันธุ์ใหม่น้อยลง

업사이드
T rex

ผลการศึกษาล่าสุดซึ่งทำแผนที่แสดงข้อมูลการแพร่พันธุ์ของไดโนเสาร์ จากถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ออกไปยังทั่วทุกมุมโลกชี้ว่า การแพร่กระจายประชากรและการขยายอาณาเขตที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งของพวกมัน กลับเป็นสาเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์เกิดสายพันธุ์ใหม่น้อยลงและมีจำนวนประชากรลดต่ำ ตั้งแต่ก่อนที่อุกกาบาตยักษ์จะพุ่งชนโลกเมื่อ 66 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งทำให้พวกมันสูญพันธุ์ไปในที่สุด

ผลการศึกษาดังกล่าวตีพิมพ์ในวารสาร Nature Ecology and Evolution โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่นอกเหนือไปจากการศึกษาซากฟอสซิล ทำให้พบว่าเผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์นั้นประสบกับภาวะเสื่อมถอยมาตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุอุกกาบาตยักษ์พุ่งชนโลกนานแล้ว

 

 

ดร.คริส เวนดิตติ จากมหาวิทยาลัยเรดดิงของสหราชอาณาจักร ผู้เขียนร่วมของรายงานวิจัยดังกล่าวชี้ว่า เผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ได้ถือกำเนิดและแพร่กระจายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยโอกาสที่โลกว่างจากสัตว์คู่แข่งชนิดอื่น ๆ หลังการสูญพันธุ์ครั้งสำคัญที่เรียกว่า “การล้มตายครั้งใหญ่” (Great Dying) เมื่อปลายยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสซิก ราว 251 ล้านปีก่อน

การที่ไดโนเสาร์ไม่มีคู่แข่งในการแย่งชิงอาหาร ทรัพยากร รวมทั้งอาณาเขตอันกว้างใหญ่ ทำให้พวกมันแพร่พันธุ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและออกครอบครองพื้นที่ทั่วทุกมุมโลก แต่ก็ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ไดโนเสาร์ในยุคหลังไม่สามารถอพยพย้ายถิ่นได้อีก ทั้งแต่ละกลุ่มก็มีความคุ้นเคยกับที่อยู่อาศัยเฉพาะของตนมากเกินไป จนขาดการปรับตัวที่นำไปสู่การเกิดสายพันธุ์ใหม่ เว้นแต่ไดโนเสาร์จำพวกที่บินได้ ซึ่งกลายมาเป็นบรรพบุรุษของนกในทุกวันนี้

อย่างไรก็ตาม มีนักวิทยาศาสตร์บางส่วนไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว เช่น ศาสตราจารย์เดวิด มาร์ทิลล์ แห่งมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธบอกว่า “ไดโนเสาร์มีความหลากหลายของสายพันธุ์สูงตลอดยุคครีเทเชียส แม้แต่ในช่วงที่ผืนทวีปต่าง ๆ เริ่มแตกแยกออกเป็นผืนแผ่นดินขนาดเล็กลง ทั้งมีหลักฐานยืนยันว่าไดโนเสาร์ยังคงมีความหลากหลายอยู่ในปลายยุคครีเทเชียส ก่อนที่อุกกาบาตยักษ์จะพุ่งชนโลกไม่นาน”

ที่มา – http://www.bbc.com/thai/38429105

 

 

Download the Idea game 자바 엑셀 대용량 Moonlight Sonata xforce

Rate Us

Rate our Website !!

Links

St.John Bosco's Bicentenary SAVIO ESPRESSO

CONTACT US

โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
1526 ถนน เพชรบุรีตัดใหม่ แขวง มักกะสัน เขต ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
E-mail : [email protected]
Tel. 02-6527477-80 Fax. 02-652-7777
Saint Dominic School