ความโน้มถ่วงในเอกภพไม่รั่วไหลไปยังมิติอื่น

Download Lonely Gourmet Season 6
ภาพจำลองการชนและรวมตัวกันของคู่ดาวนิวตรอน โดยกลุ่มเมฆฝุ่นที่ร้อนและหนาแน่นฟุ้งออกมาจากดาวทั้งสองก่อนจะชนกันเพียงเสี้ยววินาที

ตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ได้ผ่านการทดสอบจากนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่มาหลายต่อหลายครั้ง แต่ผลการพิสูจน์ที่ได้ก็ยังคงยืนยันว่า ทฤษฎีที่มีอายุร่วมร้อยปีนี้มีความถูกต้องในหลายประเด็น ล่าสุดแนวคิดที่ว่า ความโน้มถ่วงที่มีอยู่ในเอกภพของเราจะไม่รั่วไหลไปยังมิติอื่น ๆ ได้ผ่านการพิสูจน์ว่าถูกต้องแล้วเช่นกัน

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ ได้ใช้อุปกรณ์สังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วงหรือไลโก (LIGO) ซึ่งตั้งอยู่ที่สหรัฐฯ รวมทั้งกล้องโทรทรรศน์บนโลกหลายแห่ง ศึกษาปรากฏการณ์ที่คู่ดาวนิวตรอนชนปะทะและรวมตัวเข้าด้วยกัน โดยเหตุการณ์ในจักรวาลที่รุนแรงและทรงพลังเช่นนี้ มักจะเกิดคลื่นความโน้มถ่วงที่คล้ายระลอกคลื่นน้ำแผ่ออกไปด้วย

ก่อนหน้านี้ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ระบุว่า ความโน้มถ่วงที่มีอยู่ในเอกภพของเรา จะสามารถคงอยู่ได้ภายในขอบเขตของปริภูมิ-เวลา (space-time) ที่มี 4 มิติ โดยไม่รั่วไหลไปยังมิติอื่น ๆ เช่น มิติที่ 5 หรือ มิติที่ 6 หากมิติพิเศษที่ว่านั้นมีอยู่จริง ซึ่งโดยทฤษฎีแล้วมิติพิเศษเหล่านี้จะไม่มีแสงสว่าง

ถึงแม้จะเกิดเหตุการณ์รุนแรงที่กระทบต่อโครงสร้างของปริภูมิ-เวลา เช่นการชนกันของหลุมดำหรือดาวนิวตรอน ก็จะไม่ทำให้ความโน้มถ่วงในเอกภพ 4 มิติรั่วไหลออกไปได้

สถานที่ตั้งอุปกรณ์ LIGO ในเมืองแฮนฟอร์ด รัฐวอชิงตันของสหรัฐฯ

ทีมนักวิทยาศาสตร์ของไลโกได้ศึกษาคลื่นความโน้มถ่วง ซึ่งเดินทางมาพร้อมกับคลื่นแสงจากเหตุการณ์ GW170817 ซึ่งเป็นคู่ดาวนิวตรอนที่ชนกันโดยอยู่ห่างไกลจากโลก 130 ล้านปีแสง โดยไลโกสามารถตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงนี้ได้ในปี 2017

ผลการศึกษาที่เผยแพร่ในคลังเอกสารวิชาการออนไลน์ arXiv.org ระบุว่า คลื่นความโน้มถ่วงและคลื่นแสงจากเหตุการณ์นี้เดินทางมายังโลกด้วยความเร็วเท่ากัน โดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนแอมพลิจูด (amplitude) ในคลื่นความโน้มถ่วงเมื่อเทียบกับคลื่นแสงที่มีสภาพคงที่ ซึ่งก็แสดงว่าคลื่นความโน้มถ่วงไม่ได้สูญเสียพลังงานไปในระหว่างทางเพราะมีการรั่วไหลของมิติเกิดขึ้นแต่อย่างใด

ทีมผู้วิจัยยังบอกว่า การพิสูจน์ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปนั้นเป็นเรื่องสำคัญต่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และยังจะต้องมีการพิสูจน์ซ้ำในอีกหลายแง่มุมในอนาคต ซึ่งการตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงด้วยอุปกรณ์ไลโกและเวอร์โก (VIRGO) ซึ่งใกล้จะเปิดใช้งานในประเทศอิตาลี จะทำให้การตรวจวัดดังกล่าวมีความแม่นยำมากขึ้นอีกหลายเท่า

ที่มา – https://www.bbc.com/thai/features-46375691

 

CAD program Download everyday relationships Download oracle 11g patch Download the uc browser video

Rate Us

Rate our Website !!

Links

St.John Bosco's Bicentenary SAVIO ESPRESSO

CONTACT US

โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
1526 ถนน เพชรบุรีตัดใหม่ แขวง มักกะสัน เขต ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
E-mail : [email protected]
Tel. 02-6527477-80 Fax. 02-652-7777
Saint Dominic School