7 ประเภท พลาสติกที่รีไซเคิลได้

Download the switch 8.0.1 firmware

คุณเคยสังเกตใต้ก้นขวดน้ำพลาสติกที่เคยดื่มหรือไม่ ? เพราะถ้าคุณพลิกดูจะเห็นสัญลักษณ์ลูกศร 3 ตัว วนเป็นรูปสามเหลี่ยมและมีหมายเลขกำกับ ทำไมต้องเป็นเช่นนั้น สาเหตุเกิดจากทั่วโลกมีการรณรงค์ให้นำวัสดุต่างๆ นำกลับมาหมุนเวียน หรือ รีไซเคิล (Recycle) เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมซึ่งรวมถึงพลาสติกด้วย

ทั้งนี้ พลาสติกเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน สามารถทดแทนวัสดุจากธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด และเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก ส่วนมากผลิตมาจากโพลิเมอร์ (Polymer) ซึ่งมีคุณสมบัติ ที่หลากหลาย จึงมีการนำไปใช้ในงานที่แตกต่างกันไป


สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกแห่งสหรัฐอเมริกา (The Society of the Plastics Industry Inc.) ได้กำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานของพลาสติกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อนำมารีไซเคิลซึ่งมีการนำมาใช้ทั่วโลกอย่างแพร่หลาย ดังนั้นสัญลักษณ์ลูกศร 3 ตัว วนเป็นรูปสามเหลี่ยมจึงหมายถึงการนำมารีไซเคิลได้ ส่วนหมายเลขกำกับตรงกลางรูปสามเหลี่ยม คือ การจัดประเภทหรือชนิดพลาสติกที่จะนำมารีไซเคิลได้มี 7 ประเภท ดังนี้

“เบอร์ 1” คือ โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate) หรือ เพ็ท (PET หรือ PETE) พบสัญลักษณ์นี้ได้ในขวดบรรจุน้ำดื่ม น้ำมันพืช กลุ่มนี้สามารถรีไซเคิลให้เป็นเส้นใยทำเสื้อกันหนาว พรม และใยสังเคราะห์ในหมอน เป็นต้น

“เบอร์ 2” มีชื่อว่า โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) หรือ เอชดีพีอี (HDPE) พบได้ในขวดนม ขวดน้ำ และบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด ยาสระผม นำมารีไซเคิลเป็นขวดน้ำมันเครื่อง ท่อ ลังพลาสติก และไม้เทียม เป็นต้น

“เบอร์ 3” คือ โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) หรือ พีวีซี (PVC) กลุ่มนี้ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใส แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสำหรับทำประตู หน้าต่าง และหนังเทียม สามารถนำมา รีไซเคิลเป็นท่อน้ำประปา กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เป็นต้น

“เบอร์ 4” คือ โพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene) หรือ แอลดีพีอี (LDPE) ใช้ทำฟิล์มห่ออาหาร และห่อสิ่งของ สามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงหูหิ้ว ถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
“เบอร์ 5” คือ โพลิโพรพิลีน (Polypropylene) หรือ พีพี (PP) ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร ถัง ตะกร้า กระบอกน้ำ ขวดบรรจุยา เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ ชิ้นส่วนในรถยนต์ และไม้กวาดพลาสติก เป็นต้น


“เบอร์ 6” คือ โพลีสไตรีน (Polystyrene) หรือพีเอส (PS) ใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้ หรือโฟมใส่อาหาร นำมารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ ไม้บรรทัด แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่ รวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ

“เบอร์ 7” หรือ Other ที่ไม่มีการระบุชื่อจำเพาะ ไม่ใช่พลาสติกชนิดใดที่จัดอยู่ใน 6 กลุ่มข้างต้นแต่สามารถนำมาหลอมใหม่ได้

สำหรับพลาสติกทั้ง 7 ประเภทในไทยนั้นหากพิจารณาลึกลงไปจะพบว่า ล้วนเป็นพลาสติกที่ผลิตจากบริษัทไทยเกือบทั้งสิ้น และในจำนวนนี้มีถึง 3 ประเภทได้แก่ กลุ่ม HDPE, LDPE และ PS เป็นการผลิตของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC บริษัทปิโตรเคมีของคนไทย ซึ่งผลิตผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ที่หลากหลาย ได้รับเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ และ มาตรฐาน GMP และ HACCP ในกระบวนการผลิต สามารถตอกย้ำความปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้กับตลาดและลูกค้าอีกด้วย

อย่างไรก็ตามสัญลักษณ์ดังกล่าวคงจะไม่มีความหมายใดๆ หากทุกคนไม่ได้ตระหนักและขาดจิตสำนึกในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีเพื่อให้เกิดการนำกลับไปรีไซเคิลใหม่ … ดังนั้นการรักษาสิ่งแวดล้อม ลดใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วยการคัดแยกพลาสติกควรเริ่มต้นจากคุณและคุณเท่านั้น

ที่มา:http://campus.sanook.com/1376757/

Download The Walk3 Use Map ftp utility Isaku 98 서울대 평생교육원

Rate Us

Rate our Website !!

Links

St.John Bosco's Bicentenary SAVIO ESPRESSO

CONTACT US

โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
1526 ถนน เพชรบุรีตัดใหม่ แขวง มักกะสัน เขต ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
E-mail : [email protected]
Tel. 02-6527477-80 Fax. 02-652-7777
Saint Dominic School