การค้นพบก๊าซฮีเลียมและความสำคัญ

 

เรื่องราวเกี่ยวกับแก๊สฮีเลียมที่รู้จักกันทั่วโลกมีเพียงแค่บอลลูน นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบแหล่งทรัพยากรแก๊สฮีเลียมขนาดใหญ่ที่มีมากกว่า 260 ล้านแกลลอน มันตั้งอยู่ใต้ Tanzania ในประเทศแอฟริกาตะวันออก ด้วยปริมาณของแก๊สฮีเลียมที่มีมากเช่นนี้สามารถใช้ตามความต้องการของโลกได้ถึงประมาณ 7 ปี

นักวิจัยประกาศการค้นพบครั้งนี้ไว้เมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ the Goldschmidt Conference ในโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น

แก๊สฮีเลียมนั้นถูกใช้มากกว่าแค่ที่จะทำให้บอลลูนนั้นลอยตัว แก๊สนี้ยังมีความสำคัญในทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย มันเป็นส่วนประกอบสำคัญในระบบความเย็นของเครื่อง MRI ที่ใช้ในทางการแพทย์ แก๊สฮีเลียมที่ใช้งานเหล่านี้ไม่ได้มาจากชั้นบรรยากาศ มแต่มาจากใต้พื้นดิน

ธาตุรวมตัวกันอยู่ใต้ดินในระหว่างที่มีการคายรังสีของธาตุบางกลุ่มเช่น ยูเรเนียม แก๊สฮีเลียมจะถูกเก็บไว้ในหินเหล่านั้น มันสามารถที่จะหลุดออกไปรอบหินที่เกิดการหลอมได้จากลาวา เมื่อมันไปอยู่บนพื้นผิว แก๊สฮีเลียมจะหลุดออกไปชั้นบรรยากาศได้อย่างง่ายดาย และเมื่อมันเกิดเช่นนั้น มันก็จะหลุดออกไปอย่างถาวร นี่เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้แก๊สนี้หาได้ยากบนโลกนี้

แหล่งทรัพยกรแก๊สฮีเลียมที่รู้จักกันก่อนหน้านั้นถูกค้นพบโดยบังเอิญในระหว่างทำการค้นหาน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ เพราะว่าฮีเลียมนั้นสำคัญสำหรับการสำรวจค้นอวกาศและทางการทหาร รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ทำการสะสมและเก็บแก๊สเอาไว้ ซึ่งมันเป็นแหล่งทรัพยากรฮีเลียมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

แต่แหล่งทรัพยากรนี้กำลังจะหมดลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งนั่นจะทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนแก๊สฮีเลียม สิ่งนี้จะก่อให้เกิดปัญหากับทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ การค้นพบแหล่งทรัพยากรใหม่ในครั้งนี้อาจจะช่วยเราได้เป็นอย่างมาก

Diveena Danabalan นักธรณีวิทยาจาก Durham University ในประเทศอังกฤษ เธอและทีมวิจัยของเธอได้ค้นพบแหล่งทรัพยากรแก๊สฮีเลียมใหม่ พวกเขาใช้ข้อมูลว่า แก๊สฮีเลียมนั้นสะสมอยู่บนโลกได้อย่างไร พวกเขายังทำการจำลองข้อมูลของพื้นที่ใต้ดินที่ใช้ในการจับแก๊สอีกด้วย นั่นทำให้ทีมวิจัยพบห้าจุดใน Tanzania ที่มีน้ำและแก๊สฮีเลียมผุดบนพื้นผิวของโลกจากแหล่งทรัพยากรฮีเลียมที่อยู่ใต้ดิน

นักวิจัยทำการทำนายว่า พวกเขาจะสามารถหาแหล่งทรัพยากรฮีเลียมอื่นๆ ได้มากกว่านี้ในอนาคต และนั่นจะเป็นการช่วยเหลือโลกจากความต้องการในการใช้แก๊สฮีเลียม

ที่มา:

E Bulletin Board Excel. Conover. “The newest elements finally have names.” Science News for Students. June 8, 2016.

A. Grant. “Year in review: Big stride for superconductivity.” Science News 하나땅 소나기. Vol. 188, December 26, 2015, p. 25.

C. Crockett. “Big exoplanet may be surrounded by helium.” Science News, June 21, 2015.

S. Ornes 인포그래픽 무료. “Helium: Not so super after all.” Science News for Students. November 2, 2012.

Original Meeting Source: D. Danabalan et al. New high-grade helium discoveries in Tanzania 구구단 노래 다운로드. Goldschmidt Conference, Yokohama, Japan, June 28, 2016.

ที่มา : http://www.vcharkarn.com/vnews/505385

Rate Us

Rate our Website !!

Links

St.John Bosco's Bicentenary SAVIO ESPRESSO

CONTACT US

โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
1526 ถนน เพชรบุรีตัดใหม่ แขวง มักกะสัน เขต ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
E-mail : [email protected]
Tel. 02-6527477-80 Fax. 02-652-7777
Saint Dominic School