Blog page why our clients love to work with us.
ชมเชยพูดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ
นายณัฐภัทร เจริญวงศ์พานิช ม.5/1 ได้รับรางวัลชมเชย จากการแข่งขันพูดสุนทรพจน์เป็นภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อวันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2560 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต VIEW MORE PHOTOS
Read moreเหรียญทอง Wind Ensemble
นักเรียนวงโยธวาทิต โรงเรียนเซนต์ดอมินิก เข้าร่วมการประกวดดนตรีประเภทวงเครื่องลม (Wind Ensemble) งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 67 ประจำปีการศึกษา 2560 “เด็กไทยยุค 4.0 เพิ่มพูนปัญญา ศิลปหัตถกรรมก้าวหน้า สร้างคุณค่าสู่สากล” ระดับชั้น ป.1-ป.6 ได้ระดับเหรียญทอง ชนะเลิศ เมื่อวันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงเรียนวัดหนัง (ศูนย์แข่งขัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร) ด.ช.กุลบุตร รักษานาเวศ ป.4/1 ด.ช.จารุพัฒน์ ชัชวาลย์ ป.5/2 ด.ช.กวินท์ เปี่ยมเจริญกวิน ป.5/2 ด.ช.กฤต ตันไพบูลย์กุล ป.5/3 ด.ช.ปาลิน ฟองตา ป.5/4 ด.ช.ติณณ์ บุญเลิศ ป.5/5 ด.ช.ธัชธรรม เที่ยงธรรม ป.5/5 ด.ช.จุฑาภัทร โพธิเย็น ป.6/1 ด.ช.คงพชร รุ่งเรืองไพฑูรย์
Read moreกรดไขมันจากของทอดช่วยเมฆก่อตัว ทำให้อากาศเย็นลงได้
โมเลกุลจากกรดไขมันซึ่งได้จากการทอดอาหารโดยทั่วไปสามารถจับตัวกับอนุภาคขนาดเล็กต่าง ๆ ในบรรยากาศ กลายเป็นละอองลอยที่ช่วยให้กลุ่มเมฆก่อตัวได้ง่ายขึ้น และอาจมีผลทำให้สภาพอากาศเย็นลงได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเรดดิงในสหราชอาณาจักร ตีพิมพ์เผยแพร่ผลการวิจัยดังกล่าวในวารสาร Nature Communications โดยระบุว่าได้ทำการทดลองพิสูจน์คุณสมบัติของกรดไขมัน เมื่อมีสถานะเป็นละลองลอยในบรรยากาศ (Atmospheric Aerosol) เปรียบเทียบกับละอองน้ำเกลือ มีการใช้เครื่องผลิตคลื่นเหนือเสียง ทำให้หยดของกรดโอเลอิกซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดหนึ่งลอยตัวขึ้น แล้วจึงยิงด้วยลำแสงเลเซอร์และรังสีเอ็กซ์ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเผยให้ทราบว่า โครงสร้างโมเลกุลของกรดไขมันในสถานะละอองลอยในบรรยากาศ มีการเรียงตัวแบบ 3 มิติที่แข็งแกร่ง ทำให้ละอองลอยนั้นมีความหนืดและคงตัวอยู่ได้เป็นเวลานาน ซึ่งจะช่วยให้จับตัวกับอนุภาคอื่น ๆ ในอากาศและก่อตัวเป็นเมฆได้ง่ายขึ้น มีแนวโน้มว่า เมฆที่เกิดจากการก่อตัวของละอองลอยในบรรยากาศที่มีกรดไขมันเป็นส่วนประกอบนี้ จะสามารถทำให้อากาศเย็นลงได้ เนื่องจากละอองลอยในบรรยากาศส่วนใหญ่สามารถสะท้อนพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ส่งมายังโลก ให้กลับออกไปในอวกาศได้ถึง 1 ใน 4 แต่เรื่องนี้ยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่ เพราะละอองลอยในบรรยากาศบางชนิดก็ดูดซับแสงอาทิตย์เอาไว้ดร. คริสเตียน ฟรัง ผู้นำทีมวิจัยบอกว่า ยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีก ในเรื่องที่ว่ากรดไขมันจะช่วยให้เมฆที่ทำให้อากาศเย็นก่อตัวได้อย่างแน่นอนหรือไม่ และเขาไม่คิดว่าจะสามารถนำกรดไขมันจากน้ำมันทอดอาหารมาใช้เป็นเครื่องมือทางวิศวกรรมภูมิอากาศเพื่อช่วยลดโลกร้อนได้ในเร็ววันนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า โมเลกุลของกรดไขมันเป็นองค์ประกอบที่มีอยู่เป็นปริมาณมากในชั้นบรรยากาศของเมืองใหญ่ เช่นที่กรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักรมีโมเลกุลของกรดไขมันในอากาศอยู่ถึง 10% ซึ่งจัดว่าเป็นปริมาณค่อนข้างสูง และโดยส่วนใหญ่แล้วมาจากการประกอบอาหาร ที่มา – http://www.bbc.com/thai/international-42094264
Read moreสนามแม่เหล็กเปลี่ยนรสนิยมทางดนตรีได้ในพริบตา
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ในแคนาดา ทำการทดลองที่พิสูจน์ว่า รสนิยมทางดนตรีของแต่ละคนสามารถจะถูกเปลี่ยนแปลงได้ในชั่วพริบตา โดยใช้กระแสไฟฟ้าจากสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำสมองบางส่วน ทำให้รู้สึกชอบเสียงดนตรีที่ได้ฟังมากขึ้นหรือน้อยลงได้ ผู้ทำการทดลองจัดให้อาสาสมัคร 17 คน ฟังคลิปเสียงดนตรีหลากหลายประเภทจากคอมพิวเตอร์ และบอกกับอาสาสมัครด้วยว่าสามารถสั่งซื้อคลิปเพลงที่ชอบได้ตามอัธยาศัย จากนั้นได้ให้อาสาสมัครพิจารณาให้คะแนนความพึงพอใจต่อคลิปเสียงดนตรีที่ได้ฟังแต่ละเพลงด้วย ในขั้นตอนต่อไป นักวิทยาศาสตร์ได้ให้อาสาสมัครฟังเพลงอีกครั้ง แต่คราวนี้ได้ใช้อุปกรณ์สร้างสนามแม่เหล็กมาเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นหรือกดการทำงานของสมองในบริเวณจำกัด ซึ่งเป็นวิธีการที่เรียกว่า Transcranial Magnetic Stimulation (TMS) การทำเช่นนี้ต่อบริเวณสมองส่วนหน้าที่อยู่ด้านบน (Dorsolateral Prefrontal Cortex – DLPFC ) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมกระบวนการใช้เหตุผล การวางแผน ความจำ และการยับยั้งชั่งใจ ได้ทำให้พฤติกรรมและความชื่นชอบในการฟังดนตรีของอาสาสมัครเปลี่ยนไป โดยเมื่อใช้สนามแม่เหล็กกระตุ้นสมองส่วน DLPFC มีการให้คะแนนชื่นชอบเพลงที่ได้ฟังเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งจ่ายเงินซื้อคลิปเพลงที่ตนไม่ชอบจากการฟังครั้งแรกเพิ่มขึ้น 10% ด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้สนามแม่เหล็กกดการทำงานของสมองส่วนดังกล่าว พบว่ามีการให้คะแนนกับเพลงต่าง ๆ ที่ได้ฟังลดลง และอาสาสมัครจ่ายเงินซื้อคลิปเพลงน้อยลงถึง 15% ดร. โรเบิร์ต ซาทอร์เร ผู้นำทีมวิจัยในครั้งนี้บอกว่า ก่อนหน้านี้เคยมีการค้นพบมาแล้วว่าการกระตุ้นสมองส่วน DLPFC ด้วยสนามแม่เหล็ก จะทำให้การหลั่งสารโดพามีนของสมองเปลี่ยนแปลงไปได้
Read more