ก้มหน้าเล่นมือถือ เสี่ยงกระดูกต้นคอรับน้ำหนักมากขึ้น 6 เท่า

ก้มหน้าเล่นมือถือ เสี่ยงกระดูกต้นคอรับน้ำหนักมากขึ้น 6 เท่า

Weekly News

ก้มหน้าเล่นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตนาน เสี่ยงต่ออาการ ปวดศีรษะ เหตุกล้ามเนื้อปวดเกร็งจากการก้มหน้านาน ๆ แถมกระดูกต้นคอยังต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติถึง 6 เท่า ในยุคสมัยที่การใช้งานสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนจำนวนมาก ที่แต่ละคนต่างก็ก้มหน้าก้มตาใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้กันตลอดวัน เชื่อว่าหลายคนคงอาจไม่รู้ตัวเลยว่า พฤติกรรมดังกล่าวอาจนำมาซึ่งอาการผิดปกติอย่าง การปวดศีรษะ เนื่องจากการอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน จนส่งผลกระทบโดยตรงกับระบบประสาทและกระดูกต้นคอ โดยเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2558 ร.ท. นพ.กีรติกร ว่องไววาณิชย์ อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า อาการปวดศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อย เกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย ซึ่งการใช้งานสมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ ที่มากเกินไปหรือใช้งานอย่างไม่ถูกท่านั้น ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้เช่นกัน เนื่องจากการก้มหน้าเป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอเมื่อยล้า หรือเกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อขึ้นมาเป็นก้อน อาการปวดที่กล้ามเนื้อคอนี้อาจส่งความปวดไปยังส่วนอื่นที่ใกล้เคียง เช่น ท้ายทอย ขมับ รอบกระบอกตา หน้าผาก และส่วนอื่น ๆ โดยเป็นรู้จักกันดีในชื่อ กลุ่มอาการปวดจากกล้ามเนื้อเกร็ง (Myofascial pain syndrome (MFS)) นอกจากนี้ การก้มหน้ายังทำให้กระดูกต้นคอรับน้ำหนักมากกว่าปกติถึง 6 เท่า

Read more
แบบจำลองคอมพิวเตอร์ของเส้นเสียงและกล่องเสียง

แบบจำลองคอมพิวเตอร์ของเส้นเสียงและกล่องเสียง

Weekly News

ในที่สุดก็เป็นครั้งแรกที่สามารถทำการจำลองได้ว่าเส้นเสียงสามารถสร้างโน๊ตที่ต่ำและสูงสำหรับการร้องเพลงได้อย่างไร แบบจำลองแสดงให้เห็นถึงชั้นของเนื้อเยื่อภายในเส้นเสียง ซึ่งตอบสนองต่อการยืดตัวโดยกล้ามเนื้อของกล่องเสียง ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่รู้จักกันดีอยู่แล้วที่ทำให้พวกเราสามารถร้องเพลงในระดับเสียงที่แตกต่างกันได้ “ในสัตว์และมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ คุณไม่สามารถศึกษาเส้นเสีย และสำรวจเนื้อเยื่อของมันว่ามันประพฤติตัวอย่างไรได้ ดังนั้นพวกเราจึงจำลองเส้นเสียงขึ้นมา” ผู้เขียนงานวิจัยร่วม ดอกเตอร์ Tobias Riede จาก Midwestern University ใน Arizona กล่าว “แม้ว่าเราจะรู้อยู่แล้วมาตั้งแต่ปี 1970 ว่าเส้นเสียงนั้นประกอบขึ้นด้วยชั้นของเนื้อเยื่อ แต่หน้าที่ของมันนั้นยากที่จะทำการศึกษา” เขากล่าว ดอกเตอร์ Riede และทีมวิจัยของเขาได้พัฒนาระบบจำลองคอมพิวเตอร์สำหรับเส้นเสียงและทำการจำลองแบบจำลองกว่าล้านแบบเพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างของเส้นเสียงที่มีความซับซ้อนว่าสามารถสร้างระดับเสียงในช่วงกว้างได้อย่างไร พวกเขาพบว่า เมื่อเส้นเสียงถูกยืดออกโดยกล้ามเนื้อของกล่องเสียง บางส่วนของชั้นเนื้อเยื่อจะเริ่มแข็งและหยุดการสั่น และปล่อยให้ชั้นที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าเกิดการสั่นและก่อให้เกิดเสียง ยิ่งทำการยืดมากเท่าไหร่ จำนวนของชั้นเนื้อเยื่อที่มีความแน่นจะมากขึ้น และชั้นเนื้อเยื่อที่เกิดการสั่นจะน้อยลง ซึ่งส่งผลให้เส้นเสียงนั้นบางลงและทำให้เกิดเสียงที่อยู่ในช่วงเสียงระดับสูง นักวิจัยค้นพบว่า แบบจำลองสามารถช่วยอธิบายได้ว่าทำไมสัตว์อื่นเช่น เสือ ลิงวอก หนูและกวางถึงสามารถสร้างช่วงของเสียงที่แตกต่างกันออกไปได้ การค้นพบในครั้งนี้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ PLoS Computational Biology ในขณะเดียวกัน ช่วงของเสียงในแต่ละบุคคลนั้นเกิดขึ้นมาจากพันธุกรรมด้วย การศึกษาแนะว่า การออกกำลังเสียงสามารถที่จะช่วยขยายและรักษาระดับของเสียงได้ “กรรมพันธุ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญอีกด้วย ดังนั้นไม่ใช่ทุกคนสามารถที่จะเป็น Joan Sutherland ได้” ดอกเตอร์ Riede กล่าว

Read more
Samsung SUHD TV จอโค้งไซส์ใหญ่ ภาพคมชัดสมจริง

Samsung SUHD TV จอโค้งไซส์ใหญ่ ภาพคมชัดสมจริง

Weekly News

Samsung เปิดตัว SUHD TV รุ่น KS9000 พลิกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการทีวีด้วย เทคโนโลยีล่าสุด ควอนตัมดอท (Quantum Dot) แสดงสีได้มากถึง 1 พันล้านสีอย่างละเอียด ให้มิติความลึกของภาพเสมือนจริง ไม่ว่าจะรับชมในสภาพแสงใด ทั้งยังสามารถแสดงผลภาพด้วยค่าความสว่างแบบ HDR ขั้นต่ำที่ 1,000 นิต ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่ผู้ผลิตภาพยนตร์ชั้นนำจากฮอลลีวู้ด อย่างสตูดิโอ ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์ กำหนดไว้ ให้อรรถรสสูงสุดในการรับชมภาพยนตร์ โดยเทคโนโลยีนี้จะทำให้ผู้ชมมองเห็นความต่างของสีโทนมืดและสีโทนสว่างได้ชัดเจนอย่างที่สุด นอกจากนี้ยังมี เทคโนโลยีอัลตร้าแบล็ก (Ultra Black Technology) ที่ถือกำเนิดจากงานสำรวจที่พบว่าพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ดูทีวีในห้องที่เปิดไฟ เทคโนโลยีนี้จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดแสงที่สะท้อนบนหน้าจอ. นอกจากนี้ ซัมซุง เอสยูเอชดี ทีวี ยังมีดีไซน์ที่โดดเด่นด้วยการผสมผสานสุดยอดการออกแบบอันโค้งมนที่เป็นผลงานทางวิศวกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ด้วยการลดขอบทีวีให้บางที่สุดและลดทอนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ภายนอกที่ไม่จำเป็นให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อรังสรรค์ดีไซน์ที่งดงามไร้ที่ติ 360 องศา. Samsung SUHD TV ปรับโฉม สมาร์ท ฮับ (Smart Hub) ใหม่ให้ใช้งานง่ายขึ้น สามารถเข้าถึงรายการทีวีหรือภาพยนตร์เรื่องโปรดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เชื่อมต่อคอนเทนต์จากสมาร์ทโฟนได้ง่ายดายผ่านแอพพลิเคชั่น Smart View

Read more
นักวิทย์พบอะตอมออกซิเจนในบรรยากาศดาวอังคาร

นักวิทย์พบอะตอมออกซิเจนในบรรยากาศดาวอังคาร

Weekly News

  เครื่องตรวจวัดรังสีบนกล้องโทรทรรศน์ Stratospheric Observatory for Infrared Astronomy (SOFIA) ตรวจพบอะตอมออกซิเจนในชั้นบรรยากาศดาวอังคารได้เป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี อะตอมที่ค้นพบนี้อยู่ในบรรยากาศชั้นบนของดาวอังคาร (ชั้นมีโซสเฟียร์)

 อะตอมออกซิเจนส่งผลต่อแก๊สอื่นๆในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ดวงนี้ ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์เพิ่งตรวจพบปริมาณอะตอมออกซิเจนได้เพียงครึ่งหนึ่งจากที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในชั้นบรรยากาศดาวอังคาร โดยนักวิทยาศาสตร์พยายามใช้กล้องโทรทรรศน์ SOFIA ศึกษาการเปลี่ยนแปลงนี้ต่อไป  เพื่อช่วยไขข้อข้องใจเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร ก่อนหน้านี้ภารกิจไวกิ้งและมาริเนอร์ทำการตรวจวัดอะตอมออกซิเจนไว้เมื่อปี 1970 ส่วนการสังเกตการณ์ล่าสุดโดยกล้องโทรทรรศน์ SOFIA นั้นติดไปกับเครื่องบินที่ความสูง 11,000 เมตร – 14,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งที่ระดับความสูงนี้กล้องโทรทรรศน์จะอยู่สูงกว่าชั้นบรรยากาศโลกที่ดูดกลืนรังสีอินฟาเรด โดยเครื่องตรวจวัดนี้ช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถแยกออกซิเจนในชั้นบรรยากาศของดาวอังคารจากออกซิเจนในชั้นบรรยากาศของโลกได้เป็นอย่างดี ที่มา-http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/2530-atomic-oxygen-in-martian-atmosphere    

Read more
ค้นพบ 3 ดาวเคราะห์ใหม่ขนาดคล้ายโลก ลุ้นอาจมีสิ่งมีชีวิต

ค้นพบ 3 ดาวเคราะห์ใหม่ขนาดคล้ายโลก ลุ้นอาจมีสิ่งมีชีวิต

Weekly News

    มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในเมืองซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯได้เปิดเผยการค้นพบดาวเคราะห์โคจรในระบบดาวแคระขนาดเล็กเป็นครั้งแรก โดยระบบดาวนี้ห่างจากระบบสุริยะไปเพียงแค่ 40 ปีแสง ดาวเคราะห์ในระบบทั้ง 3 ดวงเป็นดาวเคราะห์ที่ขนาดพอ ๆ กับโลก โคจรอยู่ในเขตอาศัยได้ ลุ้นอาจมีสิ่งมีชีวิต           รายงานระบุว่า ทีมนักดาราฟิสิกส์นานาชาติ รวมถึงนักดาราฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก ได้เผยว่า ดาวเคราะห์ขนาดพอ ๆ กับโลกทั้ง 3 ดวงที่ค้นพบนี้ โคจรรอบดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระขนาดเล็ก ชื่อ 2MASS J23062928-0502285 หรือเรียกง่าย ๆ ว่า TRAPPIST-1 อยู่ห่างจากระบบสุริยะเพียง 40 ปีแสง ซึ่งนับว่าเป็นระบบดาวเพื่อนบ้านใกล้เคียงระบบสุริยะ และสิ่งที่พวกเขาได้ค้นพบนั้นน่าตื่นเต้นจริง ๆ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีการค้นพบดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ขนาดเล็กแบบนี้มาก่อน แถมดาวเคราะห์ทั้ง 3 ดวงที่พบ ล้วนอยู่ในเขตอาศัยได้ ไม่ร้อนและไม่เย็นเกินไป ไม่แน่ว่าอาจจะพบสิ่งมีชีวิตที่นั่นจากการสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่  นักดาราศาสตร์พบว่าดาวเคราะห์ทั้ง 3 ดวงมีขนาดใกล้เคียงกับโลก

Read more

Rate Us

Rate our Website !!

Links

SDalumni PTAD St.John Bosco's Bicentenary SAVIO ESPRESSO

CONTACT US

โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
1526 ถนน เพชรบุรีตัดใหม่ แขวง มักกะสัน เขต ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
E-mail : [email protected]
Tel. 02-652-7477-80 Fax. 02-652-7777
Saint Dominic School